26 พฤศจิกายน, 2552

การผลิตสื่อโดยใช้โปรแกรม Macromedia Captivate 3.0

การสร้างสื่อโดยใช้โปรแกรม Macromedia Captivate 3.0


โปรแกรมสร้างสื่อการสอนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีอยู่หลายโปรแกรม แต่โปรแกรมที่ทำให้การสร้างสื่อทำได้โดยง่าย คือ โปรแกรม Macromedia Captivate ซึ่งเดิมเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Macromedia ต่อมาในปัจจุบันบริษัท Adobe ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาพัฒนาเป็นของตนเอง จึงมีชื่อเรียกว่า Adobe Captivate มีเวอร์ชั่นปัจจุบันคือ เวอร์ชั่น 4.0 โปรแกรมนี้มีขีดความสามารถสูงในการพัฒนาสื่อบทเรียนด้วยตนเอง รวมถึงรูปแบบการจัดทำข้อสอบออนไลน์แบบใหม่ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีทักษะในการเขียนโปรแกรมก็สามารถผลิตสื่อบทเรียนได้เองอย่างง่ายดาย สามารถนำสไลด์จากโปรแกรม Powerpoint มาสร้างเป็นบทเรียนต่อได้ การนำเข้าไฟล์สื่อจากแหล่งต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ไฟล์รูปภาพ ไฟล์แอนนิเมชั่น ไฟล์เสียง ไฟล์วีดิโอ การบันทึกเสียงบรรยายผ่านไมโครโฟน การส่งออกไฟล์เพื่อนำไปใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น Flash Movie (*.swf) ไฟล์ประเภท exe (*.exe)

1. การติดตั้งโปรแกรม

คลิกที่ไฟล์ Setup จะปรากฏ Install Shield Wizard ของโปรแกรมนี้ คลิกที่ปุ่ม “Next” และ ปุ่ม “Accept” เป็นการยอมรับข้อตกลงของโปรแกรม แล้วคลิกปุ่ม “Next” ต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งสิ้นสุดการติดตั้ง จะมีปุ่ม “Finish” ให้กด ดังรูป



2. การเริ่มต้นสร้างชิ้นงาน
คลิกปุ่ม Start -> All Programs -> Adobe -> Adobe Captivate 3 จะปรากฏหน้าจอ ให้เราเลือกคลิกที่ข้อความว่า “Record or create a new project” ดังภาพ
จะมีตัวเลือก 4 ตัวเลือก คือ
- Blank Project สำหรับเลือกเมื่อต้องการสร้างเอง
- Image Project สำหรับเลือกเมื่อต้องการสร้างแบบนำเสนอด้วยรูปภาพ
- Import from Microsoft Powerpoint สำหรับนำเข้าจากไฟล์ Powerpoint
- Create Project from Template สำหรับสร้างจากต้นแบบที่มีอยู่ (Template)


โปรแกรมสร้างสื่อการสอนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีอยู่หลายโปรแกรม แต่โปรแกรมที่ทำให้การสร้างสื่อทำได้โดยง่าย คือ โปรแกรม Macromedia Captivate ซึ่งเดิมเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Macromedia ต่อมาในปัจจุบันบริษัท Adobe ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาพัฒนาเป็นของตนเอง จึงมีชื่อเรียกว่า Adobe Captivate มีเวอร์ชั่นปัจจุบันคือ เวอร์ชั่น 4.0 โปรแกรมนี้มีขีดความสามารถสูงในการพัฒนาสื่อบทเรียนด้วยตนเอง รวมถึงรูปแบบการจัดทำข้อสอบออนไลน์แบบใหม่ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีทักษะในการเขียนโปรแกรมก็สามารถผลิตสื่อบทเรียนได้เองอย่างง่ายดาย สามารถนำสไลด์จากโปรแกรม Powerpoint มาสร้างเป็นบทเรียนต่อได้ การนำเข้าไฟล์สื่อจากแหล่งต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ไฟล์รูปภาพ ไฟล์แอนนิเมชั่น ไฟล์เสียง ไฟล์วีดิโอ การบันทึกเสียงบรรยายผ่านไมโครโฟน การส่งออกไฟล์เพื่อนำไปใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น Flash Movie (*.swf) ไฟล์ประเภท exe (*.exe)

1. การติดตั้งโปรแกรม
คลิกที่ไฟล์ Setup จะปรากฏ Install Shield Wizard ของโปรแกรมนี้ คลิกที่ปุ่ม “Next” และ ปุ่ม “Accept” เป็นการยอมรับข้อตกลงของโปรแกรม แล้วคลิกปุ่ม “Next” ต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งสิ้นสุดการติดตั้ง จะมีปุ่ม “Finish” ให้กด ดังรูป





จากภาพข้างล่าง ให้เลือกสร้างเอง Blank Project แล้วคลิกที่ปุ่ม “OK”





กำหนดขนาดของหน้าจอ หน้าจอปกติควรเลือก 800 x 600 Full Screen แล้วคลิกที่ปุ่ม “OK” ดังภาพ



จะได้สไลด์ขึ้นมา 1 สไลด์ ดังภาพ ให้ดับเบิ้ลคลิกที่สไลด์





จะได้พื้นที่สร้างสไลด์ที่บริเวณหมายเลข 7 พร้อมที่นำสื่อลงสู่สไลด์แผ่นที่ 1

3. การสร้างข้อความด้วยเครื่องมือ Text Caption


Text Caption เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่ใส่ข้อมูลแบบตัวอักษร หรือจะไปคัดลอกในโปรแกรมอื่น ๆ มาวางในโปรแกรมนี้ ซึ่งจะมีรูปแบบที่หลากหลายและสวยงาม การใช้งาน ให้คลิกที่เครื่องมือ Text Caption ที่แถบเครื่องมือด้านล่างของจอภาพ จะปรากฏขั้นตอนในการสร้างดังภาพ

1. คลิกเลือก Font เพื่อเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร
2. พิมพ์ข้อความที่ต้องการลงในช่อง Caption Text
3. คลิกเลือกรูปแบบ Caption Type ที่มีสีสันสวยงาม
4. ทำการเปลี่ยนขนาดตัวอักษร Size โดยใส่ตัวเลขขนาดได้ตามต้องการ
5. คลิกเลือกเปลี่ยนสีของตัวอักษร
6. จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “OK” จะได้ข้อความตามที่พิมพ์ในช่อง Caption Text

4. การใส่รูปภาพ (Image)


Image เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับใส่รูปภาพลงในสไลด์ มีขั้นตอนในการใส่รูปภาพ ดังนี้

1. คลิกเลือกเครื่องมือ Image ที่อยู่ด้านล่างของจอภาพ จะได้กรอบเลือกรูปภาพ


2. คลิกเลือกรูปภาพที่ต้องการ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “Open” จะได้ดังภาพ





1. คลิกที่ปุ่ม “OK” เพื่อนำเข้าสู่สไลด์
2. ปรับขนาดรูปภาพ (Resize) และทำการจัดวางรูปภาพในตำแหน่งที่เหมาะสม


5. การสร้างตัวอักษรเคลื่อนไหว (Text Animation)


Text Animation เป็นเครื่องมือที่ใช้สร้างตัวอักษรเคลื่อนไหว มีรูปแบบการเคลื่อนไหวหลากหลาย ทำให้ผู้สอนสามารถสร้างลูกเล่นการนำเสนอให้สวยงามและน่าสนใจ เป็นเครื่องมือที่มีการใช้งานมากที่สุดในการสร้างบทเรียน มีขั้นตอนในการสร้างดังนี้

1. คลิกเลือกเครื่องมือ Text Animation ที่ด้านล่างของจอภาพ จะได้ภาพ



2. พิมพ์ตัวอักษร หรือ คัดลอกข้อความมาจากโปรแกรมอื่นมาใส่ในช่อง Text
3. เปลี่ยนฟอนต์ ขนาด สี ตามความต้องการ
4. เลือกรูปแบบของเอ็ฟเฟ็ค แล้วคลิกที่ปุ่ม “OK”

6. การใช้งาน Rollover Caption


Rollover Caption เป็นเครื่องมือที่ใช้นำเสนอข้อความขณะนำไปวางในตำแหน่งที่ต้องการแล้วจะปรากฏข้อความขึ้น เช่น นำเมาส์ไปวางบนภาพแล้วเกิดข้อความขึ้น การใช้งานมีขั้นตอนในการสร้าง ดังต่อไปนี้

1. เลือกรูปภาพมาวางโดยใช้เครื่องมือ Image มาใส่ในชิ้นงาน 1 รูป ดังภาพ

 

2. คลิกที่เครื่องมือ Rollover Caption ที่อยู่ด้านล่างของจอภาพ




3. คลิกเลือก Font เพื่อเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร
4. พิมพ์ข้อมูลที่ต้องการลงในช่อง Type Caption Text here
5. คลิกเลือกรูปแบบ Caption Type ที่มีสีสันสวยงาม
6. คลิกที่ปุ่ม “OK” จะปรากฏข้อความขึ้นมาพร้อมกับ Rollover Area ที่ใช้สำหรับกำหนดบริเวณที่นำเมาส์ไปวางแล้วทำให้เกิดข้อความ
7. ปรับขยายขนาด Rollover Area เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่วางเมาส์







7. การสร้างกล่องเน้นข้อความ


Highlight Box เป็นเครื่องมือที่ใช้เน้นสีของข้อความ หรือสิ่งที่สำคัญของการนำเสนอ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถจับใจความสำคัญของการนำเสนอได้ดีขึ้น สร้างด้วยการคลิกที่เครื่องมือ Highlight Box ที่ด้านล่างของจอภาพ แล้วสร้างตามขั้นตอนดังนี้





คลิกเลือก Frame color เพื่อเปลี่ยนสีของเส้นกรอบข้อความ


2. ปรับขนาดเส้น Frame width
3. คลิกเลือก Fill transparency ทำให้พื้นหลังโปร่งใส
4. คลิกที่ปุ่ม “OK” จะปรากฏกรอบสีเน้นขึ้นมาพร้อม Highlight Box ในชิ้นงาน และปรับขนาดให้ใหญ่ขึ้น

8. การใช้งาน Zoom Area


Zoom Area เป็นเครื่องมือที่ใช้ขยายพื้นที่นำเสนอจุดนั้น ๆ ทำให้ผู้เรียนมองเห็นภาพที่ใหญ่ขึ้น การสร้างใช้เครื่องมือ Zoom Area ที่อยู่ด้านล่างของจอภาพ มีขั้นตอนในการใช้ ดังนี้

1. คลิกเลือกเครื่องมือ Image แล้วเลือกภาพที่ต้องการขยาย ดังภาพ

 

2. คลิกเลือกเครื่องมือ Zoom Area จะปรากฏ ดังภาพ



3. คลิกเลือกรูปภาพขยาย


4. ลาก Zoom Area ไปยังตำแหน่งที่ต้องการขยาย





9. การใช้กล่องเติมข้อความ (Text Entry Box)


Text Entry Box เป็นเครื่องมือที่ใช้เติมข้อความตามเงื่อนไขของผู้สร้างชิ้นงาน เช่น เติมคำศัพท์ เติมคำตอบ ใส่รหัสผ่านก่อนเข้าสู่บทเรียน ทำให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น สร้างกล่องเติมข้อความได้โดยคลิกที่เครื่องมือ Text Entry Box ที่อยู่ด้านล่างของจอภาพ ตามขั้นตอน ดังนี้

1. สร้างสไลดให้มีรูปภาพ หรือข้อความ จากเครื่องมือ Image และ Text Caption
2. คลิกเลือกเครื่องมือ Text Entry Box ที่อยู่ด้านล่างของจอภาพ จะได้ดังภาพ


3. คลิกปุ่ม “Add” แล้วเพิ่มคำตอบที่ถูกต้องลงไป โดยสามารถเพิ่มได้หลายคำตอบ
4. On success เป็นการวางเงื่อนไขการตอบถูกต้องว่าจะให้ทำอะไรต่อไป เช่น ให้เปิดสไลด์ใดต่อไป

10. การใช้ปุ่มกด (Button)


Button เป็นเครื่องมือที่ใช้สร้างปุ่มการทำงานต่าง ๆ เช่น ใช้สร้างเมนูของบทเรียน ใช้กดเดินหน้า ถอยหลัง ไปยังสไลด์ต่าง ๆ เป็นต้น การสร้างปุ่มกดทำได้โดยคลิกที่เครื่องมือปุ่มกด Button ที่แถบเครื่องมือด้านล่างของจอภาพ จะได้กรอบสร้างปุ่มกด ดังภาพ



1. คลิกเลือกประเภทของปุ่มกด มี 3 อย่างให้เลือก คือ ปุ่มกดที่มีข้อความ (Text button) , ปุ่มกดโปร่งใส (Transparent button) และ ปุ่มกดที่มีรูปภาพ (Image button)
2. พิมพ์ข้อความกำกับปุ่มกด (ทำเฉพาะปุ่มกดที่มีข้อความ)
3. เลือกฟอนต์ สี ขนาดข้อตัวอักษร (ทำเฉพาะปุ่มกดที่มีข้อความ)
4. เลือกเหตุการณ์เมื่อคลิกที่ปุ่มกดแล้ว On success มีเหตุการณ์ให้เลือก ดังนี้
- Continue ทำต่อไป
- Go to previous slide ย้อนกลับไปสไลด์ที่ผ่านมา
- Go to next slide ไปยังสไลด์ถัดไป
- Jump to slide … กระโดดไปยังสไลด์ที่ .....
- Open URL or file เปิด URL บนอินเตอร์เน็ต หรือเปิดแฟ้ม
- Open other project เปิดโปรเจ็คอื่น
- Send e-mail to ส่งอีเมล์ไปยัง ...
- Excute JavaScript ทำตามคำสั่งจาวาสคริปต์
- No Action ไม่ทำอะไรเลย
5. คลิกที่ปุ่ม “OK” เพื่อตกลงสร้างปุ่มตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้


11. การใช้งาน Rollover Image


Rollover image เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการนำเมาส์ไปวางแล้วจะทำให้เกิดรูปภาพที่ต้องการนำเสนอ เช่น คลิกที่รูปต้นไม้ตรงบริเวณดอกไม้ จะปรากฏดอกไม้ขนาดใหญ่ขึ้นมา มีวิธีการสร้างตามขั้นตอน ดังนี้

1. คลิกเลือกเครื่องมือ Image นำภาพต้นไม้เข้ามาในสไลด์ ดังภาพ


2. คลิกเลือกเครื่องมือ Rollover Image ที่อยู่ด้านล่างของจอภาพ จะได้กรอบดังภาพ



3. เลือกรูปภาพขยายที่ต้องการให้เกิดบนสไลด์
4. คลิกที่ปุ่ม “Open” เพื่อยืนยันนำเข้าสู่สไลด์ จะได้กรอบ Rollover Image ดังภาพ



5. คลิกที่ปุ่ม “OK” เพื่อยืนยันภาพ Rollover Image จะทำให้ได้ภาพขยาย และ Rollover Area ดังภาพข้างล่าง



6. คลิกเมาส์ลากภาพขยายไปยังตำแหน่งที่ต้องการ
7. คลิกเมาส์ลากปรับขนาดของ Rollover Area และปรับตำแหน่งที่ต้องการวางเมาส์แล้วทำให้เกิดภาพขยาย








25 พฤศจิกายน, 2552

การผลิตสื่อโดยใช้โปรแกรม Microsoft Powerpoint 2003

1. การเข้าสู่โปรแกรม
คลิก Start > All Programs > Microsoft Office > Microsoft Office PowerPoint 2003 ดังภาพ





2. การสร้างสไลด์ใหม่
เลือกเมนู สร้าง -> เค้าโครงเนื้อหา ดังภาพ









3. การสร้างข้อความ
3.1 สร้างจากกล่องข้อความ คลิกที่เครื่องมือ แล้วปาดเมาส์ลงบนพื้นที่ทำงานจะได้รูปกรอบสี่เหลี่ยมแล้วพิมพ์ข้อความภายในกรอบสี่เหลี่ยม ดังภาพ









ตกแต่งรูปแบบ ขนาด สี ตัวอักษร โดยคลิกกล่องข้อความให้เส้นกรอบของกล่องข้อความมีลักษณะ ดังภาพ แล้วเลือกเครื่องมือที่จะปรับแต่งที่แถบเครื่องมือ





หมายเลข 1 รูปแบบตัวอักษร
หมายเลข 2 ขนาดตัวอักษร ตัวเลขมากจะมีขนาดใหญ่ขึ้น
หมายเลข 3 ลักษณะของตัวอักษร ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวเงา
หมายเลข 4 ตำแหน่งข้อความ ชิดซ้าย จัดกลาง ชิดขวา ชิดขอบ
หมายเลข 5 เครื่องหมายหน้าข้อความ
หมายเลข 6 ขนาดกล่องข้อความ ใหญ่ – เล็ก
หมายเลข 7 สีของข้อความ
3.2 สร้างจากเครื่องมือข้อความศิลป์ คลิกที่รูปเครื่องมือข้อความศิลป์ จะปรากฏที่เก็บ WordArt ให้คลิกเลือกรูปแบบของข้อความศิลป์ แล้วคลิกปุ่ม “ตกลง” ดังภาพ
พิมพ์ข้อความที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม “ตกลง” ดังภาพ





ปรับแต่งข้อความศิลป์ด้วยเครื่องมือ ดังภาพ


หมายเลข 1 แก้ไขข้อความ
หมายเลข 2 สีข้อความ สีเส้นรอบนอก สีเส้นด้านใน
หมายเลข 3 รูปแบบของข้อความศิลป์
4. การแทรกภาพ
สามารถแทรกได้ทั้งภาพภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว โดยคลิกที่เครื่องมือแทรกรูปภาพ แล้วจะปรากฏกรอบแทรกรูปภาพ ให้เลือกรูปภาพโดยคลิกที่รูปภาพ แล้วคลิกที่ปุ่ม “แทรก”



5. การสร้างฉากพื้นหลัง สไลด์นำเสนอจะสวยงามต้องมีฉากพื้นหลัง แต่ควรระวังภาพพื้นหลังจะทำให้การอ่านข้อความได้ยาก แนะนำให้ใช้ฉากพื้นหลังที่มีสีอ่อน และไม่ควรมีลวดลายที่ฉุดฉาดเกินไป





เลือกเมนู รูปแบบ -> พื้นหลัง -> สามารถเลือกสี ลวดลาย ภาพ ตามความต้องการ ดังนี้
- เลือกสีจากแผ่นจานสี มีลักษณะเป็นสีเดี่ยว
- เลือกเติมลักษณะพิเศษ เช่น สีพื้นที่มีลวดลาย, สีพื้นแบบไล่โทนสี หรือรูปภาพ
- เลือกพิมพ์ลายน้ำ ถ้าต้องการภาพที่จาง

6. การกำหนดเอ็ฟเฟ็คขณะเปลี่ยนสไลด์ (Transition)
ในขณะที่มีการเปลี่ยนสไลด์สามารถกำหนดให้มีเอ็ฟเฟ็คตามความต้องการได้โดยคลิกที่เมนู การนำเสนภาพนิ่ง -> การเปลี่ยนภาพนิ่ง -> เลือกรูปแบบที่กรอบด้านขวาของจอภาพ









หมายเลข 2 ลักษณะการเปลี่ยนภาพ
หมายเลข 3 ความเร็วในการเปลี่ยนภาพ
หมายเลข 4 คลิกเลือกถ้าต้องการนำไปใช้ในการเปลี่ยนภาพกับทุกสไลด์



7. การสร้างเอ็ฟเฟ็คให้กับข้อความและภาพ
ข้อความแต่ละกล่องข้อความ หรือภาพแต่ละภาพสามารถกำหนดระยะเวลาได้ว่าจะให้สิ่งใดนำเสนอก่อนหรือหลังตามลำดับที่เราต้องการได้ และสามารถกำหนดลักษณะของการนำเสนอได้ เช่น ให้เคลื่อนที่จากด้านใดของจอภาพ ให้ปรากฏจากจางไปยังชัดเจน เป็นต้น วิธีการสร้างดังภาพ













หมายเลข 1 เลือกเมนู การนำเสนอภาพนิ่ง การเคลื่อนไหวแบบกำหนดเอง
หมายเลข 2 เลือกภาพ หรือข้อความที่ต้องการให้เกิดเอ็ฟเฟ็ค เลือกสิ่งใดก่อนก็จะเกิดสิ่งนั้นที่จอภาพเป็นลำดับแรก และควรเลือกทำทีละอย่าง ไม่สามารถเลือกพร้อมกันได้ สังเกตลำดับการเลือกจากตัวเลขกำกับที่สิ่งนั้น
หมายเลข 3 ที่ด้านขวาของจอภาพเลือก เพิ่มลักษณะพิเศษ
หมายเลข 4 เลือกรูปแบบของเอ็ฟเฟ็ค เช่น แบบเข้า แบบตัวเน้น แบบเส้นทางการเคลื่อนที่
หมายเลข 5 เลือกลักษณะของเอ็ฟเฟ็ค เช่น ลักษณะเลื่อนเข้า ลักษณะข้าวหลามตัด
8. การแทรกเสียง คำบรรยายให้กับสไลด์
เราสามารถแทรกเสียงบรรยายสดให้กับแต่ละสไลด์ได้ หรือใช้เสียงที่ผ่านการบันทึกเป็นไฟล์ mp3 หรือ ไฟล์ wave มาประกอบเข้ากับสไลด์ก็ได้ตามความต้องการ โดยใช้เมนู แทรก -> เสียงจากแฟ้ม หรือบันทึกเสียง



จากภาพ เลือก
- เสียงจากแฟ้ม กรณีที่มีไฟล์เสียงที่บันทึกมาเรียบร้อยแล้ว
- บันทึกเสียง กรณีต้องการบันทึกการบรรยายสดเข้ากับสไลด์
9. การฉายสไลด์
9.1 การฉายโดยคลิกเมาส์เอง ให้เลือกเครื่องมือฉายสไลด์ ที่อยู่ด้านล่างมุมซ้ายของจอภาพ
9.2 การฉายอัตโนมัติ โดยการตั้งเวลาจากเมนูดังภาพ คลิกเมาส์เมื่อต้องการเปลี่ยนภาพตามกรอบที่ 2 เมื่อครบทุกสไลด์แล้วจะปรากฏข้อความในกรอบที่ 3 คลิกที่ปุ่ม “ใช่”





10. การบันทึก
ให้คลิกที่เครื่องมือบันทึกแล้วตั้งชื่อไฟล์ แล้วคลิกที่ปุ่ม “บันทึก” ดังภาพ